ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน

จุดประสงค์การเรียนการสอน คือ ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่อง

ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนการสอน

จุดประสงค์การเรียน เป็นจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้แนวทางมาจากความคิดรวบยอดการเรียนการสอน

ลักษณะของจุดประสงค์การเรียนการสอน

จุดประสงค์การเรียนการสอน อาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ

            1.จุดประสงค์ทั่วไป

เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมาบกว้างไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ จุดประสงค์ของหลักสูตร จุดประสงค์แผนการศึกษาชาติ ซึ่งมีคำที่เรียกแตกต่างออกไป เช่น จุดมุ่งหมาย ความมุ่งหมาย

ตัวอย่างจุดประสงค์ของหลักสูตร ได้แก่

1.เพื่อให้มีนิสัยใฝ่หาความรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์

2.เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย

2.จุดประสงค์เฉพาะ

เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดประสงค์ที่ตั้งขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น

1.นักเรียนสามารถอธิบายถึงข้อความปฏิบัติในการฟัง และพูดในโอกาสต่างๆ

2.นักเรียนสามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้

จุดประสงค์ทางการศึกษา นอกจากจะแบ่งเป็น 2 ระดับดังกล่าวแล้ว ยังอาจแบ่งตามลักษณะการเรียนรู้ ได้เป็น 3ด้าน ดังนี้

1.พุทธิพิสัย(Cognitive Domain)

เป็นจุดประสงค์ทาการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจ การใช้ความคิด พุทธิพิสัยแบ่งเป็น 6 ระดับ

         1.ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจำเนื้อหาความรู้และระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้ เช่น

-นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้

         2.ความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจความหมายของเนื้อหาสาระ ไม่ได้จำเพียงอย่างเดียว เช่น

-นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้

3.การนำไปใช้ หมายถึง การนำเอาเนื้อหาสาระ หลัดการ ความคิดรวบยอดและทฤษฎีต่างๆไปใช้ได้ เช่น

-นักเรียนสามารถเสนอความคิดเห็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้

4.การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการแยกเนื้อหาให้เป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยนั้น เช่น

-นักเรียนสามารถจำแนกวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นประเภทได้

5.การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถที่จะนำองค์ประกอบหรือส่วนย่อยๆเข้ามารวมกันเพื่อให้เป็นภาพที่สมบรูณ์ เช่น

-นักเรียนสามารถจัดระบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกต้องเหมาะสม

6.การประเมินค่า หมายถึง ความสามรถในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ เช่น

-นักเรียนสามมารถบอกได้ว่าการกระทำเช่นใดผิดพระราชบัญญัติการคุ้งครองสัตว์ป่า

2.จิตพิสัย (Affective Domain)

เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางจิตใจ ซึ่งรวมถึง ความสนใจ อารมณ์ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม

         1.การรับ คือ การที่นักเรียนได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่รับเข้ามาด้วยความเต็มใจ

         2.การตอบสนอง คือ การมีปฏิกิริยา โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่รับเข้ามาด้วยความเต็มใจ

         3.การเห็นคุณค่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่รับรู้สิ่งแวดล้อม และมีปฏิกิริยาโต้ตอบ

        4.การจัดรวบรวม เป็นการคิดพิจารณา และรวบรวมค่านิยมให้เข้าเป็นระบบค่านิยม

        5.การพิจารณาคุณลักษณะจากค่านิยม เป็นเรื่องของความประพฤติ คุณสมบัติ และคุณลักษะของแต่ละบุคคล

3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว และใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย มีลำดับการพัฒนาทักษะ ดังนี้

        1.การเลียนแบบ เป็นการทำตามตัวอย่างที่ครูให้หรือดูแบบจากของจริง

        2.การทำตามคำบอก เป็นการทำตามคำสั่งของครูโดยไม่มีตัวอย่างให้เห็น

        3.การทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นการทำโดยนักเรียนอาศัยความรู้ที่เคยทำมาก่อนแล้วเพิ่มเติม หรือดัดแปลงตามที่เห็นสมควร

        4.การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ เป็นการทำในเรื่องที่คล้ายๆกัน และแยกรูปแบบได้ถูกต้อง

        5.การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการที่ทำเกิดจากความรู้ ความชำนาญ และเสร็จได้ในเวลารวดเร็ว

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนทำให้ครูสามารถ

-หาวิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม

-เลือกสื่อการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะเรียน

-จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม

-เตรียมการวัดผลและประเมินผลได้เหมาะสม

-ทำให้การสอนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

ความหมาย

จุดประสงค์เชิงพฤตกรรมเป็นจุดประสงค์การศึกษาที่บ่งบอกถึงการกระทำของนักเรียนอย่างชัดเจนว่านักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง หลังจากที่ได้เรียนไปแล้ว

องค์ประกอบ

              1.สถานการณ์ที่ครูตั้งขึ้น เพื่อให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมออกมา มักใช้คำว่า กำหนดให้…., ภายหลังจากที่….., ถ้ามี….., เมื่อ…

              2.พฤติกรรมของนักเรียนที่ครูคาดหวังให้แสดงออกมา ได้แก่ อธิบาย บรรยาย บอก วาด เขียน ชี้ คำนวณ ตอบ ท่อง เปรียบเทียบ สร้าง ทดลอง รายงานฯลฯ

              3.เกณฑ์ระดับความสามารถของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก มักใช้คำว่า ได้ ถูกต้อง ถูกหมด ได้ทุกข้อ ได้8 ใน 10 ข้อ

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.เมื่อกำหนดโจทย์เลขเศษส่วนให้ 10 ข้อ นักเรียนสามารถทำได้ถูกต้องอย่างน้อย 8 ข้อ

2.เมื่อนำแผนมาให้นักเรียนดู นักเรียนสามารถบอกชื่อเครื่องหมายในแผนที่ได้อย่างน้อย 5 ชื่อ

3.เมื่อนำชื่อสัตว์ต่างๆมาติดบนกระดานดำ นักเรียนสามารถแยกชื่อสัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งานได้ถูกต้อง

4.จากการสังเกตจากดวงอาทิตย์ นักเรียนสามารถชี้ทิศทั้งสี่ทิศได้

หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.เขียนสั้นๆให้ได้ใจความ

2.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหนึ่งข้อจะระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม

3.ต้องระบุพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยนักเรียนเท่านั้น

4.พฤติกรรมที่ระบุในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ไม่ใช่สิ่งที่มาจากนามธรรม

5.คำที่ใช้เขียนในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นคำที่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง

แนวปฏิบัติในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม                                                            

           1.กำหนดจุดประสงค์ในการเรียนรู้โดยทั่วไป                                                    

           2.กำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังว่า ผู้เรียนจะแสดงออกหลังจากเกิดการเรียนรู้

2.1.พฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถด้านพุทธิพิสัย

1.ความรู้ ได้แกคำว่า ให้ความหมายได้ บอกเรื่องราวได้ บอกชื่อได้ ตั้งชื่อเรื่องได้ จับคู่ได้ เลือกได้ เขียนโครงร่างได้

2.ความเข้าใจ ได้แก่ แยกแยะได้ อธิบายได้ แปลความได้ ให้เหตุผลได้

3.การนำไปใช้ ได้แก่ ปฏิบัติได้ แสดงได้ เตรียมการได้ ผลิตได้ สาธิตได้

4.การวิเคราะห์ ได้แก่ จำแนกได้ แบ่งกลุ่มได้ อ้างอิงได้

5.การสังเคราะห์ ได้แก่ รวบรวมได้ จัดกลุ่มได้ ป้องกันได้ สร้างระบบได้

6.การประเมินค่า ได้แก่ เกิดความพอใจ เห็นความแตกต่าง เปรียบเทียบได้ สรุปความได้ วิจารณ์ได้

2.2พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถด้านจิตพิสัย

1.การรับ ได้แก่ สอบถาม ทำตาม ให้ เลือกบรรยาย ชี้ บอกชื่อ

2.การตอบสนอง ได้แก่ ตอบ ช่วยเหลือ ทำตาม อภิปราย ปฏิบัติ เสนอ

3.การเห็นคุณค่า ได้แก่ ทำให้เสร็จ อธิบาย ทำตาม ริเริ่ม ร่วมให้ข้อเสนอ รายงาน สัมพันธ์ สังเคราะห์

4.การจัดรวบรวม ได้แก่ จัด รวม เปรียบเทียบ ชี้ ผสมผสาน จักระเบียบ

5.การสร้างคุณลักษณะ ได้แก่ ต้องการ ต่อต้าน จัดการ หลีกเลี่ยง

2.3.พฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถด้านทักษะพิสัย

1.แสดงให้ถูกลักษณะ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง โยนลูกบอล

2.ปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น เลื่อย เจาะ ตอกตะปู ติดตั้ง

3.แสดงได้คล่องแคล่ว เช่น เต้นรำถูกจังหวะ

4.ทำงานได้รวบเร็ว ถูกต้อง และสวยงาม เช่น พิมพ์ดีด เขียนหนังสือ

5.ทำงานคล่องแคล่วและปลอดภัย เช่น การขับรถ หรือการทำงาน ต่างๆโดยคำที่ระบุว่ามีทักษะ ได้แก่ จัดตั้ง สร้าง ทำ

       3.กำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไข

3.1สถานการณ์ที่เป็นเนื้อหา เช่น อธิบายความสำคัญของน้ำได้

3.2สถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า ใช้เป็นตัวเร้าให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมต่างๆ

3.3สถานการณ์ที่เป็นเงื่อนไข ใช้เป็นเงื่อนไขของการกระทำ หรือพฤติกรรมที่ต้องการแสดงออก ที่ระบุข้อห้าม และข้อควรกระทำ

ตัวอย่าง

-สามารถแบ่งครึ่งเส้นตรงที่กำหนดให้ได้โดยใช้วงเวียน

สามารถอธิบายลักษณะของนกเป็ดน้ำได้โดยไม่ต้องเปิดตำรา

             4.กำหนดเกณฑ์

1.กำหนดเกณฑ์เป็นปริมาณ คือ การกำหนดจำนวนที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง

2.กำหนดเกณฑ์เป็นความเร็ว คือ กำหนดเกณฑ์เป็นระยะเวลาที่จะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

             5.เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

-เมื่อกำหนดองค์ประกอบทุกส่วนของจุดประสงค์ได้แล้วก็ลงมือเขียนโดยยึดหลักการเขียนที่กล่าวมาแล้ว

            6.พิจารณาทบทวนจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น

-เพื่อดูว่าจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้น ครบถ้วนตามเนื้อหาและการเรียนรู้ด้านต่างๆ หรือไม่ มีความชัดเจนที่ผู้อ่านจะอ่านได้เข้าใจตรงกันหรือไม่ มีความเหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนหรือไม่

ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.เมื่อจัดอุปกรณ์ที่จำเป็นให้ นักเรียนสามารถตั้งเครื่องมือการทดลองการเตรียมก๊าซออกซิเจนได้อย่างถูกต้องภายในเวลา 15 นาที

2.เมื่อกำหนดคำศัพท์ภาษาไทย 10 คำ นักเรียนสามารถแยกได้ว่า คำใดเป็นคำกิริยา คำใดเป็นคำสรรพนาม ได้ถูกต้องทุกคำ

3.หลังจากการเรียนเรื่อง เศษส่วน นักเรียนสามารถทำแบฝึกหัดได้ถูกต้องอย่างน้อย 8 ข้อใน 10 ข้อ

การนำจุดประสงค์ในการสอนไปปฏิบัติ

1.กำหนดวิธีสอน

2.กำหนดสื่อการสอน ข้อควรคำนึง

2.1.วิธีการสอนและสื่อการสอนควรเป็นสิ่งที่ทำให้การสอนดำเนินไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2.ความพร้อมของห้องเรียน สภาพของโรงเรียน

2.3.ความพร้อมของนักเรียน ความรู้พื้นฐานของนักเรียน

2.4.ความพร้อมของครู

3.กำหนดขั้นตอนการสอน

4.กำหนดแนวการประเมินผล ในการประเมินผลครูควรปฏิบัติคือเช่น ใช้แบบสอบถาม การสังเกต การทดสอบ หรือ พิจารณาจากผลงานที่ได้จากการเรียน


ใส่ความเห็น